BookShared
  • MEMBER AREA    
  • “กษัตริย์คืออะไร” ในงานของเดวิด เกรเบอร์ (David Graeber): ความเสมอภาค อำนาจรัฐ และกษัตริย์ต่างแดน

    (By เก่งกิจ กิติเรียงลาภ)

    Book Cover Watermark PDF Icon Read Ebook
    ×
    Size 22 MB (22,081 KB)
    Format PDF
    Downloaded 598 times
    Last checked 9 Hour ago!
    Author เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
    “Book Descriptions: ในงานที่ชื่อว่า On Kings (2018) ซึ่งเดวิด เกรเบอร์ (David Graeber) เขียนร่วมกับมาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขา และในหนังสือชุดมานุษยวิทยาสำหรับเยาวชนเล่มที่ชื่อว่า 'กษัตริย์คือ(อะ)ไร (What are Kings?)' ที่เกรเบอร์เขียนร่วมกับภรรยาของเขาคือ นิกา ดูบรอฟสกี (Nika Dubrovsky) นั้นเป็นอีกหนึ่งความพยายามของเกรเบอร์เองที่จะพัฒนามโนทัศน์ “กษัตริย์แปลกหน้า” (stranger-king) ซึ่งถูกนำเสนอมาก่อนหน้านี้โดยซาห์ลินส์

    งานสองเล่มนี้คือ งานที่เขียนขึ้นควบคู่และเป็นฐานให้แก่งานชิ้นสุดท้ายของเขานั่นคือ The Dawn of Everything โดยเขาได้ชี้ให้เห็นว่าการปกครองด้วยระบอบกษัตริย์นั้นไม่ใช่สภาวะพื้นฐานของสังคมมนุษย์ และเป็นเรื่องเข้าใจผิดมหันต์ที่นักวิชาการหลายคนมองว่าระบอบกษัตริย์นั้นเป็นการปกครองที่เข้มแข็งและเป็นระบอบที่รวมศูนย์อำนาจได้เบ็ดเสร็จ แม้ว่าตามทฤษฎีแล้ว กษัตริย์ซึ่งเป็น “องค์อธิปัตย์” จะต้องมีอำนาจในการปกครองแบบเบ็ดเสร็จก็ตามที

    แม้ว่าในระบอบกษัตริย์นั้น กษัตริย์จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่อำนาจเบ็ดเสร็จดังกล่าวก็เป็นเพียงหลักการเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว กษัตริย์ในทุกแห่งกลับมีอำนาจที่จำกัด ทั้งที่ถูกจำกัดจากภายนอกและจำกัดจากภายในตัวของกษัตริย์เอง เมื่อเราพูดถึงอำนาจเบ็ดเสร็จย่อมจะหมายถึงสิ่งที่ไม่จำกัดและต้องเป็นสิ่งที่ขึ้นกับตัวเองโดยไม่ขึ้นกับสิ่งอื่นๆ ภายนอก ทว่ากษัตริย์สามารถดำรงอยู่โดยลำพังได้ แต่กลับพึ่งพิงอาศัยหลายสิ่งหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอำนาจเหนือธรรมชาติ ไพร่พลใต้ปกครอง รวมถึงราชวงศ์และขุนนาง ส่งผลให้ในความเป็นจริง กษัตริย์หลายพระองค์ในประวัติศาสตร์เป็นคนที่ไร้อำนาจหรือเลวร้ายกว่านั้นก็อาจจะถูกฆ่าได้โดยผู้ใต้ปกครองหรือคนใกล้ตัว นี่คือสาเหตุที่เกรเบอร์มองว่าสถานะของกษัตริย์นั้นเต็มไปด้วยความย้อนแย้งในตัวเอง ที่ในด้านหนึ่งต้องแสดงออกว่ามีอำนาจเบ็ดเสร็จสัมบูรณ์ แต่ในอีกด้านหนึ่งพวกเขาก็ไม่สามารถมีอำนาจเบ็ดเสร็จสัมบูรณ์ได้จริง

    กล่าวในแง่นี้ กษัตริย์ในฐานะองค์อธิปัตย์หรือองค์อธิปัตย์ในร่างของกษัตริย์ก็มิใช่บุคคลที่มีอำนาจสัมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มโนทัศน์อำนาจอธิปัตย์หรือ sovereign power เองที่มักจะถูกเข้าใจว่าหมายถึงอำนาจที่แบ่งแยกไม่ได้และสัมบูรณ์ในตัวเองก็ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง สิ่งเหล่านี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่ออำนาจอธิปัตย์กลายมาเป็นของ “ประชาชน” (people) ในปัจจุบัน

    ทว่าอำนาจของประชาชนในฐานะองค์อธิปัตย์เองก็เป็นสภาวะที่คลุมเครือและเต็มไปด้วยข้อจำกัด กล่าวอีกอย่างก็คือ มโนทัศน์องค์อธิปัตย์นั้นเป็นมโนทัศน์ที่มีความขัดแย้งในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นอธิปไตยของประชาชนหรืออธิปไตยของกษัตริย์ก็ตาม ความสัมบูรณ์ขององค์อธิปัตย์จึงเป็นเพียงสภาวะที่นามธรรม โดยเฉพาะเมื่อเราพูดถึงประชาชนก็เป็นเรื่องยากที่จะระบุว่ารวมใครเข้ามาบ้าง และประชาชนแต่ละคนมีอำนาจเท่ากันหรือไม่ ฯลฯ

    ในแง่นี้ เอกภาพขององค์อธิปัตย์ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะมีอยู่จริงหรือสร้างขึ้นมาได้ง่ายๆ เพราะมันเต็มไปด้วยความแตกต่างสารพัดแบบและความขัดแย้งภายในอย่างมหาศาล ผลก็คือ อำนาจอธิปัตย์ที่ไม่มั่นคงและไม่สัมบูรณ์ดังกล่าวก็ย่อมจะต้องการอะไรอย่างอื่นมาเสริมให้มั่นคงสถาพรอยู่เสมอท่ามกลางความเป็นไปได้สารพัดที่อำนาจดังกล่าวจะล่มสลายไป

    ดังนั้น เมื่อเราจะนิยามว่าอำนาจอธิปัตย์คืออะไร มันก็ไม่น่าจะใช่อำนาจที่สูงสุดภายใต้กรอบของโครงสร้างอำนาจ แต่องค์อธิปัตย์ก็คือผู้ที่สามารถละเมิดกฎต่างๆ และสร้างกฎใหม่ได้ ดังที่เราจะเห็นความคิดเช่นนี้ในงานของ Carl Schmitt และ Giorgio Agamben ที่นิยามว่าองค์อธิปัตย์หมายถึงคนที่สามารถใช้อำนาจละเว้นหรือระงับการใช้กฎได้

    ทว่าในสังคมที่ไร้รัฐและปราศจากกษัตริย์ จะมีก็แต่เพียงพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่จะใช้อำนาจประเภทนี้ได้ ในฐานะที่พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สถาปนากฎและก็มีแต่พระองค์เองเท่านั้นที่จะสามารถล้มกฎหรือระงับการใช้กฎได้ อำนาจในการละเว้นหรือระงับกฎจึงไม่ใช่อำนาจของมนุษย์ที่สร้างขึ้นได้เองโดยมนุษย์ ยกเว้นก็แต่มนุษย์ที่ทำตัวประหนึ่งเป็นร่างอวตารของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น ในแง่นี้ สำหรับเกรเบอร์และซาห์ลินส์แล้ว กษัตริย์จึงไม่มีทางที่จะเป็น “ทางโลก” (secular) แต่อำนาจของกษัตริย์ในฐานะองค์อธิปัตย์นั้นเป็นอำนาจเหนือธรรมชาติที่เป็นเรื่องของอำนาจศักดิ์สิทธิ์อยู่เสมอ”

    Google Drive Logo DRIVE
    Book 1

    People From My Neighbourhood

    ★★★★★

    Hiromi Kawakami

    Book 1

    The Dry Heart

    ★★★★★

    Natalia Ginzburg

    Book 1

    IN THEORIES ในความรัก เราต่างเป็นนักทฤษฎี

    ★★★★★

    กิตติพล สรัคคานนท์

    Book 1

    The Ballad of the Sad Café and Other Stories

    ★★★★★

    Carson McCullers

    Book 1

    The Key

    ★★★★★

    Jun'ichirō Tanizaki

    Book 1

    ฆาตกรมนุษย์กบกับศพปริศนา

    ★★★★★

    Shichiri Nakayama

    Book 1

    Kierkegaard: A Very Short Introduction

    ★★★★★

    Patrick L. Gardiner

    Book 1

    รักในลวง

    ★★★★★

    จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์

    Book 1

    Why Women Have Better Sex Under Socialism: And Other Arguments for Economic Independence

    ★★★★★

    Kristen R. Ghodsee

    Book 1

    DIVINE BEING ไม่ใช่มนุษย์ และตัวตนอื่นๆ

    ★★★★★

    จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท

    Book 1

    Later

    ★★★★★

    Stephen King

    Book 1

    Apple and Knife

    ★★★★★

    Intan Paramaditha

    Book 1

    “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

    ★★★★★

    ไอดา อรุณวงศ์

    Book 1

    The Paper Menagerie and Other Stories

    ★★★★★

    Ken Liu

    Book 1

    Half the World (Shattered Sea, #2)

    ★★★★★

    Joe Abercrombie

    Book 1

    Half a War (Shattered Sea, #3)

    ★★★★★

    Joe Abercrombie